Support
REFINANCE
083-0836259
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

วิธีเลือกเห็ดที่ปลอดภัย

dreamhome50@hotmail.com | 19-10-2555 | เปิดดู 956 | ความคิดเห็น 0

ใน ช่วงฤดูฝนของทุกปี สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานการป่วยและการเสียชีวิตจากเห็ดพิษ โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมักจะได้รับรายงานมากในช่วงเริ่มต้นของฤดุฝน คือระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน โดยทุกเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตจะเกิด จากการรับประทานเห็ดธรรมชาติ โดยเฉพาะเห็ดที่ขึ้นตามภูเขา อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ โดยที่เห็ดพิษทำให้เกิดการเสียชีวิตแยกได้ยากจากที่ไม่มีพิษ
          ในปี พ.ศ. 2553 สำนักระบาดวิทยาเริ่มได้รับรายงานการป่วยเป็นกลุ่มก้อนและการเสียชีวิตจาก เห็ดพิษในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา (30 พฤษภาคม -12 มิถุนายน 2553) รวมทั้งหมด 11 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิตรวมแล้ว 5 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2552 ทั้งปีที่มีรายงานเพียง 3 เหตุการณ์ และในจำนวนนี้ไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนปี พ.ศ. 2551 ที่มีรายงานทั้งหมด 10 เหตุการณ์ และมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 2 ราย
          จังหวัดที่มีรายงานการป่วยเป็นกลุ่มก้อนจากเห็ดพิษในปี 2553 มาจากเชียงใหม่ 5 เหตุการณ์ โดยหนึ่งในนี้เป็นกลุ่มผู้ป่วยจากประเทศพม่า (ป่วย 18 ราย เสียชีวิต 3 ราย มาจากคนละอำเภอ) อุบลราชธานี 2 เหตุการณ์ (ป่วย 3 ราย เสียชีวิต 2 ราย มาจากคนละอำเภอ) อำนาจเจริญ 2 เหตุการณ์ (ป่วย 11 ราย ไม่เสียชีวิต) และน่าน 1 เหตุการณ์ (ป่วย 2 รายไม่เสียชีวิต) ที่น่าสนใจคือ มีถึง 4 เหตุการณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ที่เกิดจากที่มีลักษณะคล้ายเห็ดไข่ห่าน (ซึ่งอยู่ในกลุ่มเห็ดระโงก) โดย 3 เหตุการณ์มีผู้เสียชีวิตและอีก 1 เหตุการณ์มีไตวาย ซึ่งเห็ดไข่ห่านนี้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกเห็ดระโงก มีทั้งชนิดที่มีพิษและไม่มีพิษ สำหรับชนิดที่มีพิษเป็น Amanita virosa มีสารพิษในกลุ่ม Amatoxin ซึ่งเป็นพิษต่อตับ จากข้อมูลที่ผ่านมาผู้ที่รับประทานเห็ดไข่ห่านประมาณ 1 ดอกก็ทำให้เสียชีวิตได้ ประชาชนส่วนใหญ่รู้ว่าเห็ดไข่ห่านมีทั้งชนิดมีพิษและไม่มีพิษ แต่มีความเชื่อว่าสามารถแยกชนิดของเห็ดพิษได้โดยวิธีต่างๆที่เป็นภูมิปัญญา พื้นบ้าน แต่เป็นความเชื่อที่ผิด ในครั้งนี้ก็มี 2-3 เหตุการณ์ที่มีการทดสอบด้วยวิธีต่างๆก่อนรับประทาน

          อีก 1 เหตุการณ์ในจังหวัดอุบลราชธานีที่เป็นเด็ก 1 ปี 9 เดือน ผู้ปกครองให้กินเห็ดที่ย่างสุกแล้ว เรียกเห็ดขี้กะเดือน เด็กมีอาการถ่ายเป็นน้ำ และภายหลังถ่ายเป็นเลือดแล้วเสียชีวิต ในขณะที่ตาและยายซึ่งกินด้วยกันไม่มีอาการ ซึ่งไปด้วยกันกับคำแนะนำที่ไม่ควรให้เด็กอ่อนบริโภคเห็ดธรรมชาติและเห็ดป่า

จากข้อมูลในปีที่ผ่านๆมาพบว่าการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตมักเกิดในกลุ่ม เดิมๆ คือ ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่ไม่ไกลจากเขา (รวมทั้งชาวเขา) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มทหารเกณฑ์ ซึ่งมักมาจากต่างพื้นที่แต่เคยกินเห็ดลักษณะนี้มาก่อน

โดยสรุป ในพื้นที่ที่มีเห็ดที่ทำให้ถึงชีวิตซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยๆ เช่น จังหวัดภาคเหนือตอนบนที่มักเสียชีวิตจาก เห็ดไข่ห่าน ควรให้สุขศึกษาในช่วงก่อนหน้าฝนโดยเน้นให้หลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดไข่ ห่านไม่ว่าชนิดใดๆ โดยเน้นในพื้นที่และกลุ่มประชากรที่พบบ่อยๆ  อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ
จังหวัดระยอง มีรายงานผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจากเห็ดพิษทุกปี พื้นที่เคยมีรายงานการระบาด ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอวังจันทร์ บ้านค่าย นิคมพัฒนา แหล่งอาหารที่ผู้ป่วยเก็บเห็ดมารับประทาน คือ สวนป่าพฤกษชาติ  อ.เมือง   และซื้อจากตลาดนัด

          ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการรับประทานเห็ด เห็ดในธรรมชาติมีหลายชนิด ดังนั้นการจำแนกว่าเห็ดชนิดใดมีพิษหรือไม่มีพิษบางครั้งเป็นเรื่องยาก หลักสำคัญคือการรู้จักเห็ดชนิดนั้น ๆ เป็นอย่างดีก่อนจะเลือกมารับประทาน หากแต่ว่าชาวบ้านบางส่วนยังมีความเชื่อที่ผิดในการทดสอบความเป็นพิษของเห็ด เมา เช่น

  1. เห็ดที่มีแมลงกัดกินย่อมรับประทานได้ หากแต่ว่าจากการศึกษาวิจัยในกรณีคนไข้นำเอา เห็ดไข่ห่านขาว (Amanita virosa) ที่รับประทานแล้วเสียชีวิตจากตับวาย มาทำการแยกชนิดและเพาะเชื้อเห็ดในห้องทดลอง ผลปรากฏว่ามีแมลงหวี่เกิดขึ้น บ่งชี้ว่ามีแมลงหวี่ในธรรมชาติมาไข่ไว้ในครีบของเห็ดและแมลงก็สามารถอาศัย อยู่ร่วมกับเห็ดได้
  2. ถ้าเป็นเห็ดเมา หากขณะต้มหรือแกงให้ใส่ข้าวสารลงไปด้วยมันจะสุก ๆ ดิบ ๆ
  3. เห็ดที่มีสีสวยมักจะเป็นเห็ดเมา
  4. ถ้าน้ำต้มเห็ดถูกกับช้อนเงิน ช้อนเงินจะเปลี่ยนเป็นสีดำแสดงว่าเห็ดพิษ
  5. เห็ดเมาถ้าใส่หัวหอมลงไปปรุงอาหารจะเป็นสีดำ
  6. ใช้มือถูกลำต้นแล้วเป็นรอยดำแสดงว่าเห็ดนั้นมีพิษ
  7. เห็ดที่ขึ้นผิดฤดูกาลมักเป็นเห็ดพิษ ซึ่งความเชื่อดังกล่าวไม่สามารถแยกเห็ดพิษชนิดที่ทำให้เสียชีวิตออกจากเห็ดที่รับประทานได้

          สำหรับคำแนะนำในการบริโภคเห็ดธรรมชาติและเห็ดป่ามีดังนี้

  1. อย่าบริโภคเห็ดสด
  2. หลีกเลียง เห็ดอ่อนสีน้ำตาลดอกเล็ก ๆ เพราะจำแนกยากและมีพิษมาก
  3. หลีกเลียง เห็ดอ่อนสีขาว เพราะจำแนกยาก เช่น เห็ดระโงก ที่มีพิษร้ายแรง
  4. ระมัดระวังการบริโภค
 

ความคิดเห็น

วันที่: Mon May 06 17:18:39 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0